ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คืออะไร ?

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ เงินชดเชยที่เราสามารถเรียกร้องได้จาก “ผู้กระทำละเมิด” หรือคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด  ซึ่งหมายความว่าเราต้องเป็นฝ่ายถูกในอุบัติเหตุนั้นเท่านั้น  เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ที่ถูกละเมิดทำให้รถยนต์เสียหาย  และไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ใครมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จาการใช้รถ
คนที่มีสิทธิเรียกค่าขาดก็คือ “ผู้ที่ถูกกระทำละเมิด” และเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ หรือซึ่งก็คือ เจ้าของรถ ที่มีชื่อระบุอยู่ในทะเบียนรถว่าเป็นผู้ครอบครองรถเท่านั้น

ประกันภัย พ.ร.บ. จะเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้ไหม ?
ประกันภัย พ.ร.บ. คุ้มครองคน ไม่คุ้มครองทรัพย์สิน ดังนั้นจะเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถไม่ได้

ใช้เวลาในการซ่อมรถอู่ในเครือบริษัทเป็นระยะเวลานานหลายเดือน
การเรียกร้องค่าขาดประโยชน์รถยนต์เกิดจากบริษัทประวิงการซ่อมหรือซ่อมล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โดยปกติทั่วไปซ่อมรถใช้ระยะเวลาอยู่ที่ประมาณ 15-30 วัน แต่บริษัทซ่อมล่าช้าหรือส่งอะไหล่ล่าช้า ทำให้การซ่อมเป็นระยะเวลานานถึง 45 วัน หากคิดวาไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงาน คปภ. ทุกจังหวัด

ทำไมเราต้องดำเนินการเองทุกอย่าง
สาเหตุที่เราต้องดำเนินการเองเป็นเพราะว่า ตามกฎหมายแล้วบริษัทไม่มีสิทธิดำเนินการแทนเรา  ตามหลักการ “สวมสิทธิเรียกร้อง”

การสวมสิทธิคืออะไร? กรณีที่เป็นฝ่ายถูก และไม่มีประกันภาคสมัครใจก็สามารถใช้สิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจาก “ผู้กระทำละเมิด” หรือคู่กรณีที่เป็น “ฝ่ายผิด” ด้วยตนเองได้

กรณีที่มีประกันภาคสมัครใจ ประเภท 1  (ยกเว้นประเภท 2 และ ประเภท 3 ที่ไม่คุ้มครองรถผู้เอาประกัน) บริษัทก็จะจ่ายค่าซ่อมแทนคู่กรณี ทำให้บริษัทมีสิทธิที่จะไปเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดได้ ซึ่งต่อไปนี้ในทางกฎหมายจะเรียกว่า “การสวมสิทธิเรียกร้อง”  เนื่องจากกรมธรรม์มีความคุ้มครองในส่วนของค่าซ่อม เมื่อบริษัทจ่ายค่าซ่อมแทนคู่กรณีไปแล้ว บริษัทก็สามารถไปเรียกร้องคืนได้ แต่ในกรณีของค่าขาดประโยชน์จาการใช้รถกรมธรรม์ไม่มีระบุความคุ้มครองส่วนนี้ในกรมธรรม์ บริษัทจึงไม่สามารถจ่ายเงินในส่วนนี้แทนคู่กรณี สิทธิในการเรียกร้อง จึงอยู่ที่ผู้เอาประกัน ทำให้บริษัทไม่สามารถ สวมสิทธิเรียกร้องได้

จากกรณีที่เป็นฝ่ายถูกที่ไม่มีประกันภาคสมัครใจ

1. ถ้าคู่กรณีไม่มีประกันภาคสมัครใจ เราก็สามารถเรียกค่าขาดประโยชน์ ได้จากคู่กรณีที่เป็น ‘ผู้ละเมิด’ โดยตรง
2. ค่าขาดประโยชน์ ไม่ได้ระบุความคุ้มครองในกรมธรรม์รถยนต์ภาคสมัครใจ ถึงรถที่เป็นฝ่ายถูก จะไม่มีประกันก็สามารถเรียกค่าขาดประโยชน์จากบริษัทคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดได้

-ผู้ขับขี่รถประกันเป็นฝ่ายผิดแล้วก็ไม่มีคู่กรณี สามารถเรียกร้องได้หรือไม่ หลักละเมิดก็คือคนที่เป็นฝ่ายผิดจะไม่มีสิทธิ์  เรียกร้องจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูกได้ เพราะฉะนั้น **เราต้องเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น**

สิ่งที่ต้องรู้ **ค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถ**

1. ต้องมีชื่อ เบอร์โทร บริษัทประกันของคู่กรณี  เนื่องจากข้อมูลติดต่อจะช่วยทำให้สามารถตามเรื่องได้ถูกคน กรณีที่เป็นฝ่ายถูกแล้วต้องจ่ายค่าเดินทางระหว่างรอซ่อมรถเอง  ก็มีสิทธิ์เรียกร้องขอค่าชดเชยตามมูลค่าจริงได้ แต่ถ้าไม่มีเบอร์ติดต่อ  บริษัทประกันไม่สามารถจ่ายแทนเราได้  เพราะค่าขาดประโยชน์ไม่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์
   ดังนั้น เพื่อผลประโยชน์ในการเรียกร้อง เราจึงจำเป็นต้องทราบรายละเอียดของคู่กรณี และข้อมูลติดต่อบริษัทประกันให้ได้มากที่สุด หรือถ้ามีรูปถ่ายรถของคุณกับรถคู่กรณีเก็บไว้ด้วย

2. ต้องรู้เอกสารที่ต้องใช้  การติดต่อกับทางบริษัทประกันของคู่กรณี  จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อไปติดต่อบริษัทประกันดังนี้
1. หนังสือเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ ( สามารถรับเอกสารได้ที่อู่ซ่อม )
2. ใบรับรองความเสียหายต่อทรัพย์สิน(ใบเคลมที่คู่กรณีออกให้เรา กรณีเราเป็นฝ่ายถูก)
3. สำเนาทะเบียนรถ
4. สำเนาใบขับขี่  (ของคนขับตอนเกิดเหตุ)
5. ใบเสนอราคาความเสียหายที่มีการระบุวันเข้าซ่อมชัดเจน (ขอสำเนาเก็บไว้)
6. ใบรับรถหรือหนังสือส่งมอบรถที่มีการระบุวันรับรถชัดเจน (ขอสำเนาไว้)
7. สำเนาหน้าสมุดเงินฝาก ( สำหรับให้บริษัทโอนเงินเข้า )
8. สำเนาตารางกรมธรรม์รถยนต์ (ถ้ามี)
9. รูปถ่ายขณะซ่อม  (ถ้ามี ขอจากอู่ได้)
10.หนังสือเรียกร้องสินไหม
11.หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชน+ทะเบียนบ้าน ทั้งของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปติดต่อ)

ควรเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน พร้อมทั้งเจรจาค่าขาดประโยชน์ให้จบ เพื่อเข้าไปเซ็น ‘สัญญาประนีประนอมยอมความ’ หนังสือสัญญานี้จะเป็นข้อผูกมัดทั้งสองฝ่าย คือ ในสัญญาจะระบุว่า เราจะไม่เรียกร้องอะไรเพิ่มเติมในอุบัติเหตุครั้งนี้จากที่ตกลงกันไว้อีกแล้ว และบริษัทจะต้องจ่ายเงินเราตามเวลาที่กฎหมายกำหนด  **หากทางบริษัทประกันของคู่กรณีไม่ยินยอมจ่ายค่าผลประโยชน์ หรือตกลงกันไม่ได้ ก็สามารถส่งเรื่องไปยัง คปภ. ให้ช่วยดำเนินการได้เช่นกัน**

3. หลักเกณฑ์  การจ่ายค่าชดเชยระหว่างเดินทาง จากสำนักงาน คปภ. มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

-1.รถยนต์ (ส่วนบุคคล) ขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท

-2.รถยนต์ (รับจ้างสาธารณะ) ขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท

-3.รถยนต์ขนาดเกินกว่า 7 ที่นั่ง อัตราไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท

-4.รถยนต์อื่นๆที่ไม่ได้กำหนดอัตราไว้ข้างต้น สามารถเรียกร้องได้ตามความเสียหายที่แท้จริง

**สำหรับค่าใช้จ่ายกรณีใช้บริการรถสาธารณะ เช่น รถแท็กซี่, รถเมล์, รถไฟฟ้า ฯลฯ เราสามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันของคู่กรณีได้ตามมูลค่าจริงเท่านั้น**

4. เงื่อนไขเบื้องต้น  ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
เงื่อนไขแรก คือ เราจะต้องเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
เงื่อนไขที่สอง คือ รถของคู่กรณีต้องทำประกันรถยนต์เอาไว้ (ไม่ว่าจะเป็นประกันชั้นอะไรก็ตาม)

การเรียกค่าประโยชน์จากประกันของคู่กรณี ถึงแม้บางบริษัทประกันอาจจะไม่เคยบอก เพราะไม่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ แต่ถ้ารู้จะช่วยรักษาสิทธิ์ของผู้เอาประกันที่เป็นฝ่ายถูก  แล้วที่สำคัญเราก็ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม และเผื่อเวลาดำเนินเรื่อง เพื่อจะได้รับผลประโยชน์ค่าเดินทางระหว่างซ่อมรถของคุณตามที่กำหนด

“ค่าขาดประโยชน์นี้เป็นคำสั่งนายทะเบียน หากบริษัทไม่ปฏิบัติตามอาจเข้าข่ายความผิดฐานประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจะมีโทษปรับในอัตราที่สูง”

ข้อแนะนำ : ควรนำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขาดประโยชน์จากการใช้รถไปใช้สิทธิเรียกร้องกับบริษัทประกันภัยที่ต้องรับผิดภายในอายุความ 2 ปี นับตั้งแต่วันทำละเมิด

กรณีเคทตัวอย่าง รถยนต์โดยสารสาธารณะ ผู้โดยสารมีสิทธิร้องเรียนหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการประกันภัยและผู้ประกอบธุรกิจรถโดยสาร โดยไม่มีการประวิงเวลาหรือบังคับให้ประนีประนอมยอมความ  ใช้สิทธิ์ได้ 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 การเรียกค่าสินไหม จาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 คุ้มครองเฉพาะการบาดเจ็บ  หรือเสียชีวิตเท่านั้น
1.) ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริง ให้โรงพยาบาล ไม่เกิน 80,000 บาท และไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด (กรณีเป็นผู้โดยสาร)
2.) ค่าชดเชยรายวัน จ่ายให้ผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน หรือไม่เกิน 4,000 บาท
3.) ค่าปลงศพ / เสียชีวิต / ทุพพลภาพ จ่ายให้ทายาทตามกฎหมาย 500,000 บาท
4.) สูญเสียอวัยวะ 250,000-500,000 บาท

ส่วนที่ 2 การเรียกค่าเสียหายกับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประกันภัยชั้น 1,2,3,4,5)
1.) ค่ารักษาพยาบาล ส่วนที่เกินวงเงินของ พ.ร.บ.รถยนต์
2.) ค่าทนทุกข์ทรมาน จากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
3.) ทรัพย์สินที่เสียหาย หรือสูญหายในขณะเกิดอุบัติเหตุ
4.) ค่าเสียหายอื่นๆ เช่น ค่าขาดโอกาสในการเดินทาง หรือทำงาน ค่าขาดไร้อุปการะ ค่าขาดรายได้ เป็นต้น

ส่วนที่ 3 ฟ้องศาลเป็นคดีผู้บริโภคได้เมื่อเจ้าของรถหรือประกันรถยนต์ของคู่กรณี ไม่ยอมจ่ายค่าสินไหม ดำเนินคดีเป็นคดีผู้บริโภค โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม สามารถยื่นฟ้องได้ด้วยตนเอง

สอบถามข้อมูลได้ที่ “สายด่วน คปภ.” 1186

หากท่านต้องการที่จะปรึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ พรบ. ประกันรถ ประกันภัยต่างๆ หรือสนใจสมัครเป็นสมาชิกตัวแทนนายหน้าเพื่อรับส่วนลด หรือต้องการทำเป็นอาชีพเสริมทางทีมเรายินดีให้คำปรึกษาทุกท่าน ยินดีให้บริการและคำปรึกษา
👉 สนใจสมัครสมาชิกคลิกที่นี่ : สมัครสมาชิก
👉 ไอดีไลน์ : 0615414989
👉 เบอร์โทรศัพท์ : 061-541-4989
👉 ซื้อประกันภัยออนไลน์ คลิก : https://insure.724.co.th/u/AM00035014